วันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555


ภาวะโภชนาการของวัยผู้สูงอายุ 

                   อาหาร นับเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ในการครองชีวิต และมีส่วนทำให้สุขภาพของคนสมบูรณ์แข็งแรง ถ้ารับประทานอาหารได้ถูกต้อง และเพียงพอแก่ความต้องการของร่างกาย หรืออาจทำให้เป็นโรคได้ ถ้ามีการรับประทานไม่ถูกต้อง ไม่เหมาะสมตามความต้องการ ของร่างกายในแต่ละวัย ผู้สูงอายุนับว่าเป็นวัยหนึ่ง ที่พบว่ามีปัญหาทางโภชนาการ และนำไปสู่การเกิดโรค ซึ่งทำความยุ่งยากในการรักษา และครองตนให้มีความสุข ในบั้นปลายของชีวิต ผู้สูงอายุ เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ ซึ่งไม่ใช่โรคแต่เป็นไปตามวัย และการปฏิบัติตนของแต่ละคน ความเจ็บป่วยมีผล ทำให้กระบวนการแก่เกิดได้เร็วขึ้นที่เรียกกันว่า แก่เพราะโรคหรือแก่ก่อนวัย ตรงกันข้ามคนที่มีการดูแลสุขภาพ และการรับประทานให้เหมาะสมตลอดเวลา จะลดปัญหาการเจ็บป่วย และชะลอความแก่ หรือความเป็นผู้สูงอายุไว้ได้นาน มีสุขภาพที่แข็งแรง และไม่มีโรคภัยมาเบียดเบียน
ความต้องการพลังงาน และสารอาหาร ของวัย ผู้สูงอายุ
                   ผู้สูงอายุมีความต้องการสารอาหารโปรตีนพอๆกับวัยผู้ใหญ่คือ แต่ละวันต้องการโปรตีน 1 กรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม นั่นก็คือ ถ้าน้ำหนักตัว 50 กิโลกรัม ความต้องการสารอาหารโปรตีนคือ 50 กรัมต่อวัน  สำหรับกำลังพลังงานต้องการต่ำกว่าวัยอื่นคือ ต้องการประมาณวันละ 1600-1800 กิโลแคลอรี่ ทั้งนี้เพราะ ในวัยสูงอายุมีกิจกรรมต่างๆ ลดลง การทำงานของกล้ามเนื้อลดลงด้วย ทำให้ความต้องการของพลังงานลดลง ส่วนความต้องการเกลือแร่, วิตามิน, เส้นใย  อาหารและน้ำ มีความต้องการพอๆกับวัยผู้ใหญ่
ความต้องการพลังงานของผู้สูงอายุ ลดลงอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งเกิดจากสาเหตุ  ใหญ่ๆคือ การทำงานของกล้ามเนื้อลดลง การทำงานของอวัยวะต่างๆ เช่น  หัวใจ ตับ ปอด น้อยลง และความต้องการของพลังงานในระยะพักลดลง  ผู้สูงอายุควรเลือกรับประทานอาหารที่มีปริมาณพลังงานน้อยลง วิธีการที่ช่วย
ได้นอกจากการลดปริมาณการบริโภคไขมันและคาร์โบไฮเดรตก็คือการออก กำลังกายสม่ำเสมอ

โปรตีน ผู้สูงอายุมีความต้องการสารอาหารโปรตีน ประมาณวันละ 1 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมซึ่งเท่ากับ 50-60 กรัมต่อวัน     ปกติอาหารไทยจะมีแหล่งโปรตีนจากสัตว์และพืช (ข้าว) ในอัตราส่วนประมาณ 50 : 50 หรือ 60 : 40 โดยได้จากเนื้อสัตว์ประมาณ 150 กรัม (โปรตีน 15-20 กรัม/100 กรัม) ต่อวันหรือเนื้อสัตว์ 100 กรัม, ไข่ 1 ฟอง, นม 1 แก้ว ซึ่งเมื่อ คำนวณเป็น % ของพลังงานทั้งหมดจะประมาณ 12-15% ซึ่งต้องไม่มากเกินไป เพราะนอกจากจะไม่เกิดประโยชน์แล้วยังทำให้ไตทำงานหนักขึ้นในการขับสารพวกยูเรียออกทางปัสสาวะ ซึ่งเป็นสารที่ได้จากการเผาผลาญโปรตีนทำให้ไตเสื่อมง่าย

ไขมัน  ดังที่กล่าวแล้วข้างต้นว่าผู้สูงอายุมีความต้องการพลังงานลดลง ซึ่งอาหารที่ให้พลังงานสูงก็คือ ไขมัน ดังนั้นผู้สูงอายุจะได้รับพลังงานลดลงได้ก็โดยการลดปริมาณการบริโภคไขมัน ผู้สูงอายุควรบริโภคน้ำมันพืชที่มีกรดไลโนเลอิคมากแทนไขมันจากสัตว์ เพื่อป้องกันภาวะไขมันสูงในเลือด น้ำมันพืชที่มีกรดไลโนเลอิคสูงได้แก่ น้ำมันข้าวโพด น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันรำ เป็นต้น ปริมาณน้ำมันพืชที่ผู้สูงอายุควรได้รับต่อวัน ประมาณ5 ช้อนเล็กหรือช้อนกาแฟไม่ควรบริโภคไขมันเกิน 30% ของพลังงานที่ได้รับในแต่ละวัน  ไขมันส่วนอื่นแทรกอยู่ในเนื้อสัตว์ นม ไข่
คาร์โบไฮเดรต  เป็นสารอาหารที่ได้จาก อาหารประเภทข้าว แป้ง เผือก มัน ผลิตภัณฑ์ต่างๆ จากธัญพืชและน้ำตาล เป็นต้น ข้าวและผลิตภัณฑ์ เป็นอาหารหลักของคนไทย ที่รับประทานกันทุกครัวเรือนและทุกวัน ผู้สูงอายุ ควรได้รับคาร์โบไฮเดรตประมาณ 50-60% ของพลังงาน และควรเลือกคาร์โบไฮเดรตประเภทเชิงซ้อน คือ ข้าว แป้ง เผือก มัน หรือผลิตภัณฑ์จากธัญพืชอื่นๆ เช่น ก๋วยเตี๋ยว ขนมจีน บะหมี่ มะกะโรนี ฯลฯ และหลีกเลี่ยงหรือรับประทาน คาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยวให้น้อยลง ซึ่งได้แก่ น้ำตาล น้ำหวาน หรืออาหารที่มีน้ำตาลเป็นส่วนผสม ขนมหวานต่างๆ ทั้งที่เป็นของเชื่อม ของกวน เพราะอาหารเหล่านี้ทำให้อ้วน และเกิดปัญหาของไขมันสูงในเลือดได้ ถ้ารับประทานมากเกินไป พยายามเลือกรับประทานผลไม้สด แทนขนมหวาน ซึ่งให้ประโยชน์แก่ร่างกาย มากกว่าขนมหวาน เพราะนอกจากจะได้รับคาร์โบไฮเดรตแล้ว ยังได้รับวิตามิน เกลือแร่ที่มีในผลไม้แต่ละชนิด ตามปริมาณที่แตกต่างกันไปตามชนิดของผลไม้
น้ำ  มีความสำคัญมาก ช่วยในระบบย่อยอาหาร และการขับถ่ายของเสีย ส่วนมากผู้สูงอายุจะดื่มไม่เพียงพอ ความต้องการน้ำของผู้สูงอายุคือประมาณ 1 มิลลิลิตร/1 กิโลแคลอรี่ หรือ 30 มิลลิลิตร/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม หรือประมาณ 1500 มิลลิลิตร ซึ่งเท่ากับ 6-8 แก้วต่อวัน
วิตามิน  ผู้สูงอายุมีความต้องการวิตามิน เท่าหรือน้อยกว่าวัยหนุ่มสาวเล็กน้อย การเปลี่ยนแปลงเรื่องการเลือกรับประทานอาหารอ่อนๆ เนื่องจาก มีปัญหาเรื่องฟัน อาจมีผลต่อการบริโภควิตามินได้  ทำให้ได้รับวิตามินบางอย่างไม่เพียงพอ ได้แก่ วิตามินเอ วิตามินบีหนึ่ง  บีสอง   บีหก บีสิบสอง กรดโฟลิคและวิตามินซี แหล่งของวิตามินส่วนใหญ่อยู่ในผัก ผลไม้สด ดังนั้นผู้สูงอายุควรได้รับผัก ผลไม้ ให้เพียงพอในแต่ละวันความต้องการแร่ธาตุ ผู้สูงอายุมีความต้องการแร่ธาตุต่างๆ เท่าในวัยผู้ใหญ่แต่ส่วนมากที่มีปัญหาคือการบริโภคไม่เพียงพอ แร่ธาตุที่สำคัญและเป็นปัญหาในผู้สูงอายุ ได้แก่ แร่ธาตุเหล็ก ซึ่งถ้าขาดทำให้เป็นโรคซีดหรือโลหิตจาง พบว่าแม้ปริมาณรับประทานจะพอเพียง แต่การดูดซึมในผู้สูงอายุน้อยกว่าคนหนุ่มสาว อาหารที่มีแร่ธาตุเหล็กมาก คือ ตับ เนื้อสัตว์ ไข่แดง และเลือดสัตว์ เป็นต้น เพื่อให้การดูดซึมดีขึ้น ผู้สูงอายุควรรับประทานผักสดหรือผลไม้ที่มีวิตามินซีสูงด้วยในแต่ละมื้อแร่ธาตุแคลเซียม พบว่าปัญหาการขาดแคลเซียมมีมากในผู้สูงอายุ ทั้งนี้เพราะมีการบริโภคน้อย นอกจากนี้การดูดซึมและการเก็บไว้ในร่างกายยังมีน้อยกว่าคนหนุ่มสาว จึงทำให้เกิดปัญหาโรคกระดูกเปราะ อาหารที่เป็นแหล่งอาหารแคลเซียม ได้แก่ นม ปลาเล็กปลาน้อย กุ้งแห้ง ผักใบเขียวเข้ม เป็นต้นปัญหาเกี่ยวกับการที่ร่างกายไม่สามารถย่อยน้ำตาลจากนม คือ แลคโตส ได้ทำให้ผู้สูงอายุมีอาการปวดเสียดท้อง หรือท้องเดินหลังดื่มนม   เป็นสาเหตุทำให้มีการปฏิเสธอาหารประเภทนม อาหารนมมีประโยชน์มากเพราะเป็นแหล่งโปรตีนที่ดีมีแคลเซียมสูง การแก้ปัญหาอาจรับประทาน โยเกิร์ตแทนการดื่มนมได้หรือดื่มนมครั้งละประมาณน้อยๆ และดื่มหลังอาหารก็เป็นทางหนึ่งที่ช่วยบรรเทาอาการปวดเสียดท้องหลังดื่มนมขณะท้องว่างได้

ตาราง ปริมาณสารอาหารชนิดต่างๆที่ควรได้รับประจำวันสำหรับผู้สูงอายุ
สารอาหารชายหญิง
โปรตีน, กรัม 51 44
วิตามินที่ละลายในไขมัน
วิตามินเอ, ไมโครกรัม RE
วิตามินดี, ไมโครกรัม
วิตามินอี, มก. TE
วิตามินเค, ไมโครกรัม

700
5
10
45

600
5
8
35
วิตามินที่ละลายในน้ำ
วิตามินซี, มก
วิตามินบี 1, มก.
วิตามินบี 2, มก.
ไนอะซิน, มก. NE
วิตามินบี 6, มก.
โฟเลท, ไมโครกรัม
วิตามินบี 12, ไมโครกรัม
ไบโอติน, ไมโครกรัม
กรดแพนโทธีนิค, มก.
คาร์นิทีน, มก.

60
1.2
1.4
16
2.2
400*
2.0
100-200
4-7
24-81

60
1.0
1.2
13
2.0
400*
2.0
100-200
4-7
24-81
เกลือแร่
โซเดียม, มก.
โปแตสเซียม, มก.
คลอไรด์, มก.
แคลเซียม, มก.
ฟอสฟอรัส, มก
แมกนีเซียม, มก
เหล็ก, มก.
สังกะสี, มก.
ไอโอดีน, ไมโครกรัม
ทองแดง, มก.
ฟลูออไรด์, มก.
โครเมียม, มก
ซีลีเนียม, มก.

1,100-3,300
1,875-5,625
1,700-5,100
1500*
800
350
10
15
150
2.0-3.0
1.5-4.0
0.05-0.2
0.05-0.2

1,100-3,300
1,875-5,625
1,700-5,100
1500*
800
350
10
15
150
2.0-3.0
1.5-4.0
0.05-0.2
0.05-0.2

































ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น