วันอาทิตย์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

มารยาทในการรับประทานอาหาร


มารยาท 

        หมายถึง กิริยา วาจาที่สุภาพเรียบร้อย ที่บุคคลพึงปฏิบัติในสังคมโดยมีระเบียบแบบแผน อันเหมาะสมตามกาลเทศะ

มารยาทในการรับประทานอาหาร

        มารยาทในการรับประทานอาหาร เป็นสิ่งที่ทำให้ผู้ที่พบเห็นเกิดความเลื่อมใส หรืออาจตำหนิ ควรฝึกมารยาทในการรับประทานอาหารให้ถูกต้องเป็นที่ยอมรับของสังคม โดยปฏิบัติให้เป็นนิสัย เราสามารถใช้อาหารเป็นสื่อในการพบปะสังสรรค์ ดำเนินงานทางธุรกิจ หรือเข้าสังคมกับผู้อื่น การมีความรู้เกี่ยวกับมารยาทในการรับประทานอาหารตามหลักสากลจะช่วยให้ ปฏิบัติ ตัวได้อย่าง ถูกต้องเหมาะสม มารยาทนั้นมุ่งการประพฤติปฏิบัติ ให้เกิดขึ้นทางกาย และทาง วาจา ซึ่งเป็นสิ่งที่มองเห็นได้ง่าย มารยาท และการวางตัวที่ เหมาะสม จึงเป็นปราการด่านแรกที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้ผ่าน การอบรมฝึกฝนตนมาดี มีคุณสมบัติของผู้ดีมีวัฒนธรรมอันเจริญ

1. อาหารแบบทั่วไป

-ถ้าไปในงานไม่ได้ ก็ควรแจ้งให้เจ้าภาพทราบล่วงหน้า เพื่อเจ้าภาพจะได้รู้จำนวนแขก
ที่มาในงาน แต่โดยทั่วไปควรจะบอกก่อนวันงานไม่ว่าจะไปได้หรือไม่ก็ตาม
-ตระเตรียมเครื่องแต่งตัวไปในงานให้พร้อม
-ควรจะไปก่อนงานเริ่มสัก ๑๐ นาที ไม่ควรไปเร็วหรือช้ากว่านั้น เพราะจะทำให้เจ้าภาพลำบากใจ
-ควรทักทายพบปะกับเจ้าภาพเมื่อไปถึงในงาน แม้เจ้าภาพจะยุ่งอยู่กับการต้อนรับคนอื่น เราก็ควรหาโอกาสไปทักทายในภายหลัง
-ควรพยามยามพูดคุยทักทายกับแขกคนอื่น ๆ ที่มาในงาน
แม้ไม่ใช่เพื่อนของเราถ้าถูกแนะนำให้รู้จักกับใครก็ควรจะ
พูดคุยกับคนนั้นหากไม่มีใครแนะนำก็ควรพูดคุยกับ
คนใกล้เราที่สุด
-เวลาที่นั่งโต๊ะ ควรให้แขกผู้ใหญ่นั่งก่อน แล้วเราค่อยนั่งตาม สามี ภรรยา ไม่ควรนั่งโต๊ะติดกัน
โดยสุภาพสตรีต้องนั่งทางขวาของสุภาพบุรุษ
-ก่อนนั่งโต๊ะควรงดสูบบุหรี่ แม้นั่งโต๊ะเรียบร้อยแล้วก็ไม่ควรสูบ เพราะมีสุภาพสตรีนั่งอยู่ข้าง ๆ
-นั่งโต๊ะต้องนั่งตัวตรง อย่านั่งพิงเก้าอี้ เอนหลัง
-หรือค่อมหลังจนตัวงอ อย่านั่งชิด หรือห่างจาก
เก้าอี้ หรือเอาเท้าวางบนเก้าอี้ เอาศอกวางบนโต๊ะ
-อย่าอ่านหนังสือใด ๆ บนโต๊ะอาหารนอกจากรายการอาหาร
-ผ้าเช็ดมือคลี่วางบนตัก
-อย่าเล่นช้อนส้อมหรือผ้าเช็ดมือ
-อย่ากางข้อศอกในเวลารับประทานอาหาร ศอกต้องแนบตัว
-ถ้ามีสิ่งใดตก ไม่ต้องเก็บ ควรแจ้งให้คนเสริฟทราบ
-เวลานั่งโต๊ะ คอยสังเกตให้ดีว่าอันไหนเป็นของเรา หรือเป็นของคนอื่น อย่าหยิบผิด
-เวลารับประทานอาหารอย่าจับหรือแต่งผม ผัดหน้า ทาปาก
-ช่วยเหลือเพื่อนร่วมโต๊ะตามสมควร
-อย่าเอื้อมหยิบของผ่านหน้าผู้อื่น แต่ถ้าเพื่อนร่วมโต๊ะส่งให้ ก็ควรขอบคุณในไมตรีจิตของเขา
-อย่าทำอะไรตกจากโต๊ะอาหาร แต่ถ้าตกแล้วก็ขอใหม่ อย่าเก็บของเก่า
-หากทำอะไรผิดก็ปล่อยเลยตามเลย ไม่ต้องแก้ตัว
-ดื่มน้ำด้วยมือขวา
-อย่าจิ้มฟันในขณะรับประทานอาหาร ถ้าจำเป็นควรใช้มือป้อง
-รับประทานอาหารเสร็จควรรวบช้อนส้อมไว้คู่กัน เขาจะได้รู้ว่าอิ่มแล้ว
-ลุกจากโต๊ะเมื่อคนอื่น ๆ อิ่มแล้ว

2.อาหารแบบตักเอง

-ไม่ควรตักก่อนที่เจ้าภาพจะเชิญ
-ไม่ควรตักอาหารจนล้นชามแล้วรับประทานไม่หมด
-ไม่ควรตักของหวานหรือผลไม้เกินกว่าที่ตนจะรับประทานได้
-เมื่อต้องการอาหารเพิ่มเติม ต้องใช้ช้อนกลาง ไม่ควรใช้ช้อนของตนตักอาหาร
-เมื่อตนตักอาหารชนิดใดแล้ว ต้องให้โอกาสคนอื่นเข้าได้ตักบ้าง ไม่ควรยืนปักหลักอยู่ที่โต๊ะ
-ไม่ควรลุกไปตักอาหารพร่ำเพรื่อจนเกินควร
-รับประทานอาหารที่ตักมาให้หมด ไม่ควรเหลือทิ้งไว้บนจานมาก
- เมื่อรับประทานอาหารเสร็จควรรวบช้อนส้อมเข้าคู่ด้วยกัน
-เมื่อจะกลับควรลาเจ้าภาพและกล่าวคำขอบคุณ

3.อาหารแบบยุโรป

3.1 อาหารยุโรปอย่างครบชุดและอุปกรณ์บนโต๊ะ  อาหารยุโรปเต็มชุดจะถูกนำมาเสิร์ฟทีละอย่าง ๆ ตามลำดับ ส่วนการทานนั้นก็จะทานทีละอย่าง ๆ ตามลำดับจนจบ
   ส่วนส้อมและมีดสำหรับรับประทานอาหารจะเปลี่ยนไปตามอาหารนั้น ๆ
แต่จะถูกวางไว้เป็นเซ็ทบนโต๊ะอาหาร
ลำดับของอาหารชนิดครบชุด    
ออเดิร์ฟ + ขนมปังจะเสิร์ฟกันในช่วงนี้ด้วย
ซุป    
อาหารจำพวกปลา    
อาหารจำพวกเนื้อ    
ไอศครีม    
อาหารจำพวกเนื้อ   
สลัดผัก 
ผลไม้    
กาแฟ

ปกรณ์บนโต๊ะอาหาร (TABLE SET) มีดังนี้
1. จานรอง                       11. ช้อนกาแฟ
2. ผ้าเช็ดปาก                  12. ส้อมสำหรับทานผลไม้
3. ช้อนซุป                       13. มีดหั่นผลไม้
4. มีดออเดิร์ฟ                 14. ช้อนไอศครีม
5. มีดหั่นปลา                  15. ที่ทาเนย
6. มีดหั่นเนื้อ                   16. มีดตัดเนย
7. ส้อมสำหรับทานเนื้อ 17. จานรองเนย
8. ส้อมสำหรับทานปลา 18. แก้วใส่น้ำเปล่า
9. ส้อมสำหรับออเดิร์ฟ 19. แก้วแชมเปญ
10. จานใส่ขนมปัง         20. แก้วใส่ไวน์แดง
21. แก้วใส่ไวน์ขาว

การใช้ผ้าเช็ดปาก ควรปฏิบัติดังนี้

-หยิบผ้าเช็ดปากคลี่แล้ววางบนตัก
-ใช้เพื่อซับอาหารที่ติดปาก ไม่ควรใช้เช็ดลิปสติกออก
-ถ้าผ้าตกระหว่างรับประทานอาหาร ให้พยายามหยิบโดยไม่รบกวน ผู้อื่น
-ถ้าไม่จำเป็นต้องลุกออกไปไหนชั่วขณะ ให้วางไว้ที่เก้าอี้
- ผ้าที่ใช้แล้วไม่ต้องพับ ถ้าเลิกรับประทานให้วางผ้าไว้บนโต๊ะด้านซ้ายมือ
การใช้ช้อน ส้อม มีด และแก้วน้ำ ควรปฏิบัติดังนี้
- ใช้ช้อน มีด ด้วยมือขวา ส้อมใช้มือซ้าย
-ให้นิ้วชี้อยู่ด้านบน  จับให้แน่น อย่าให้หลุดออกจากมือได้ ใช้ส้อม ตักอาหาร จิ้มอาหาร


การใช้ช้อน ส้อม มีด และแก้วน้ำ ควรปฏิบัติดังนี้

  -ใช้ช้อนตักซุปออกจากตัวและรับประทานด้านข้างช้อน

   -ตักซุปจากด้านใกล้ตัวออกด้านนอก 
  -ดื่ม (ทาน) เสร็จแล้ววางช้อนเอาไว้ในชาม
    -ไม่ใช้มีดตักหรือจิ้มอาหารเข้าปาก
    -แก้วน้ำให้หยิบด้านขวามือ
    -ช้อน ส้อม มีด เมื่อเลิกใช้แล้วอย่าวางบนโต๊ะ ให้วางบนจานรองหรือบนจานอาคารคาวแทน  

4. อาหารญี่ปุ่น

ข้าว  

-ไม่พุ้ยข้าวเข้าปากแบบคนจีน แต่คีบข้าวใส่ปากเป็นคำๆ ข้าวญี่ปุ่นเหนียวทำได้ ห้ามเท Soya sause ลงบนข้าวสุก ถ้าต้องการ ให้เทซอสลงถ้วยแบ่ง แล้วเอาข้าวไปจิ้มเป็นคำๆได้ ทานให้หมดอย่าให้เหลือ 
ซูชิ   

-ริน Soya sauce ลงในถ้วย ทานให้หมดอย่าให้เหลือ ถ้าไม่จำเป็นอย่าขอ วาซาบิ  wasabi เพิ่ม เพราะ Chef จะเดินเข้ามาถามว่าทำไมต้องเพิ่ม  ของเขาไม่อร่อยหรือ? ซูชิ ทำมาพอดีคำ ควรทานคำเดียวให้หมด กัดเป็น 2 คำ จะทำให้ความสวยงามหมดไป Chef จะมองหน้าอีก  
ซาชิมิ (Sashimi)

  -รินซอสลงข้างถ้วย อย่าเทเยอะ เดี๋ยวเชฟมอง ยังไม่พอแค่นี้ ต้องทานให้หมดด้วย
มิโซซุป  (Miso soup)  
-ยกถ้วยขึ้นซดได้เลย แล้วค่อยใช้ตะเกียบคีบของอย่างอื่น ที่เหลืออยู่ในถ้วยเข้าปาก คีบนะคะไม่ใช่เขี่ยหรือพุ้ยเข้าปาก  
ราเมน   (Noodles )

-ค่อยๆคีบเส้นเข้าปาก  ต้องมีเสียงสู้ด ดูดเส้นดังเข้าปาก   Slurring sound ถึงแสดงว่าอร่อย น้ำก๋วยเตี๋ยวยกซดได้เลย หรือใช้ช้อนกระเบื้องตักได้ 


ข้อห้ามในการใช้ตะเกียบตามมารยาทญี่ปุ่น
-Hashi-watashi คือเอาตะเกียบหยิบของกินแล้วส่งไปให้คนอื่น โดยคนที่ได้รับก็ใช้ตะเกียบรับของกินนั้น นี่เป็นข้อที่คนต่างชาติมักจะทำบ่อยโดยไม่ได้ตั้งใจ ตามวัฒนธรรมญี่ปุ่นแล้ว สิ่งที่หยิบด้วยตะเกียบและส่งต่อรับด้วยตะเกียบได้ ก็คือกระดูกของศพที่เผาแล้วในพิธีงานศพเท่านั้น เราจึงห้ามทำในการทานอาหาร
-ข้อห้ามที่เกี่ยวข้องกับงานศพญี่ปุ่น ก็จะมีอีกข้อหนึ่งคือ เอาตะเกียบเสียบให้ตั้งบนถ้วยข้าว เพราะอันนี้เป็นข้าวสำหรับคนที่เสียชีวิตแล้วนะค่ะ
-Mayoi-bashi คือถือตะเกียบแล้วส่ายไป ๆ มา ๆ บนอาหารหลายชนิดโดยตัดสินไม่ได้ว่าจะเอาอันไหนดี
-Sashi-bashi (1) คือเอาตะเกียบแทงของกิน Sashi-bashi (2) คือเอาตะเกียบชี้คน
-Saguri-bashi คือเอาตะเกียบคุ้ยหาชิ้นที่ต้องการในถ้วยอาหาร
-Yose-bashi คือเอาตะเกียบดึงหรือขนย้ายภาชนะอาหาร
5. อาหารจีน

-มารยาทในการรับประทานอาหารจีน สำหรับโต๊ะจีนที่ได้มาตรฐาน เครื่องใช้ในโต๊ะสำหรับแต่ละท่านจะประกอบด้วย ถ้วยซุปพร้อมจานรองและส้อม จานอาหารขนาดเล็กเฉพาะคน แก้วน้ำ ถ้วยชาพร้อมจานรอง ตะเกียบพร้อมหมอนตะเกียบและช้อนกลาง ซึ่งควรใช้เครื่องใช้ที่มีอยู่ให้ถูกต้อง เช่น ควรวางช้อนไว้ที่จานรองถ้วยซุป อย่าวางไว้ในถ้วยซุป ควรวางตะเกียบไว้บนหมอนรองตะเกียบอย่าวางพาดปากชาม
-การเข้านั่งโต๊ะอาหารจีน โดยปกติลักษณะของงานที่เป็นพิธีการจะคล้าย กับของแบบตะวันตก คือ มีการจัดทำผังที่นั่ง ซึ่งเจ้าภาพจะติดไว้หน้าห้องรับประทานอาหาร เพื่อให้แขกรับเชิญทุกท่านได้ทราบที่นั่งของตนล่วงหน้า และเมื่อถึงเวลาเข้าที่นั่ง เจ้าภาพจะเรียนเชิญแขกเกียรติยศเข้าที่นั่ง แขกรับเชิญอื่น ๆ ก็จะตามเข้าไป
-การกล่าวสุนทรพจน์หรือคำอวยพร เจ้าภาพจะเป็นผู้กล่าวก่อนเมื่อเริ่มรับประทานจานแรก เมื่อกล่าวจบก็จะเดินชนแก้วกับแขกเกียรติยศและแขกท่านอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ฝ่ายเดียวกับเจ้าภาพ หลังจากนั้นแขกเกียรติยศ ก็จะมีการกล่าวตอบและชนแก้วเช่นเดียวกัน การเดินชนแก้วนั้น ผู้ที่เดินจะเป็นเฉพาะเจ้าภาพและแขก เกียรติยศ เท่านั้น อนึ่ง การกล่าวสุนทรพจน์หรือคำอวยพรนี้ สามารถกล่าวในช่วงรับประทานของหวาน ได้เช่นเดียวกับของแบบตะวันตก 
มารยาทที่ควรปฏิบัติในโต๊ะจีน

-เจ้าภาพควรเสิร์ฟอาหารชิ้นแรกของแต่ละจานให้แขกเกียรติยศ โดยใช้ช้อนกลางหรือใช้ ตะเกียบของตนที่ยังไม่ใช้ หรือหากใช้ตะเกียบแล้วให้กลับเอาอีกด้านมาคีบให้
-เจ้าภาพควรเชิญชวนแขกดื่มบ้าง แต่อย่าบ่อยมากจนเกินไป ขณะเดียวกันแขกเกียรติยศก็สามารถเชิญชวนดื่มได้เช่นกัน
-หากอาหารที่เสิร์ฟมีบางประเภทที่ต้องใช้มือจับ บริกรจะนำชามแก้วใส่น้ำชาและมะนาว ฝาน หรือบางงานอาจโรยด้วยกลีบกุหลาบมาให้ เพื่อไว้สำหรับล้างมือ เช่น อาหารประเภทเป็ดปักกิ่ง หมูหัน วิธีล้าง คือ ให้ใช้ปลายนิ้วที่เปื้อนจุ่มลงล้างแล้วจากนั้นเช็ดให้แห้งด้วยผ้าเช็ดปาก แต่อย่าสะบัดมือเพราะน้ำจะกระเด็นถูกแขกท่านอื่น ๆ
-การสนทนาระหว่างกันในโต๊ะอาหาร ไม่ควรมุ่งไปในด้านธุรกิจหรือการงานจนเกินไป ต้องอาศัยความแนบเนียนในการเจรจา ควรให้มีบรรยากาศแบบมีอัธยาศัยไมตรีอันดีเป็นหลัก เมื่อเสร็จสิ้นงานเลี้ยง เจ้าภาพจะต้องเดินไปส่งแขกเกียรติยศให้ถึงรถ โดยเป็นการให้เกียรติซึ่งกันและกันอย่างจริงใจ
-การสนทนาระหว่างกันในโต๊ะอาหาร ไม่ควรมุ่งไปในด้านธุรกิจหรือการงานจนเกินไป ต้องอาศัยความแนบเนียนในการเจรจา ควรให้มีบรรยากาศแบบมีอัธยาศัยไมตรีอันดีเป็นหลัก
-เมื่อเสร็จสิ้นงานเลี้ยง เจ้าภาพจะต้องเดินไปส่งแขกเกียรติยศให้ถึงรถ โดยเป็นการให้เกียรติซึ่งกันและกันอย่างจริงใจ

สิ่งที่ห้ามปฏิบัติในโต๊ะจีน

-อย่าคายหรือทิ้งเศษอาหารบนโต๊ะหรือที่พื้น ให้ทิ้งในถ้วยหรือชามที่บริกรจัดไว้ให้หรือวางไว้ตรงขอบจาน
-อย่ากระแทกปลายตะเกียบบนโต๊ะจนมีเสียงดัง
-อย่าตัดอาหารจำพวกเส้นหมี่ในงานวันเกิด
-อย่ากลับปลาทั้งตัว เมื่อทานเนื้อด้านใดด้านหนึ่งหมด โดยเฉพาะเมื่อมีชาวเรือร่วมโต๊ะ
-อย่าดูดตะเกียบ 
มารยาทการรับประทานอาหารแบบสากล
งานสังคม หรืองานเลี้ยงอาหารในโอกาสต่าง ๆ เป็นสิ่งที่จะหลีกเลี่ยงเสียมิได้ ในชีวิตประจำวันของเรา ทั้งการเป็นแขกรับเชิญ และการเป็นเจ้าภาพ แบบธรรมเนียมปฏิบัติของแขกรับเชิญงานรับประทานอาหาร แต่ละท้องถิ่นมีความแตกต่างกันบ้าง แต่โดยพื้นฐานแล้วมารยาทในโต๊ะอาหารมีมาตรฐานสากล เพื่อให้รับประทานอาหารได้สะดวกโดยไม่รบกวนหรือทำให้ผู้ร่วมโต๊ะคนอื่นต้อง ขัดเขิน ซึ่งมีแนวทางดังนี้
ก่อนเข้าโต๊ะอาหาร
- เจ้าภาพ จะทักทายกับแขกทุกท่าน และตรวจสอบยอดแขกรับเชิญ

- แขกจะได้ทักทายพูดคุยซึ่งกันและกัน และตรวจสอบที่นั่ง ณ โต๊ะอาหารจากผังที่นั่ง

- ท่านที่เป็นชายจะมีหน้าที่นำแขกสุภาพสตรีที่นั่งด้านขวาเข้าโต๊ะ ในกรณีนี้ควรจะหา โอกาสให้เจ้าภาพแนะนำท่านให้รู้จักกับสุภาพสตรีที่นั่งด้านขวาท่านหรือหา โอกาสเข้าไปแนะนำตนเองก่อน เข้าโต๊ะอาหาร

- ควรมางานเลี้ยงให้ตรงเวลาตามบัตรเชิญ หากเป็นงานเลี้ยงที่เป็นกันเอง การนำของฝากมาให้เจ้าภาพนับเป็นการแสดงออกที่ดี ของฝากอาจเป็นดอกไม้ ไวน์ ซ็อกโกแลต หรืออะไรก็ได้ที่ เหมาะสม ในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉินมาไม่ได้หรือมาช้า จะต้องโทรศัพท์แจ้งเจ้าภาพเพื่อให้เจ้าภาพได้แก้ปัญหาทันเวลา (เช่น เชิญทุกคนรับประทานอาหารตามเวลาแทนที่จะคอย)

 - เจ้าภาพ (ส่วนใหญ่จะเป็นเจ้าภาพฝ่ายชาย) จะเชิญให้แขกดื่ม แขกจะเริ่มดื่มได้ในทันทีที่ได้รับแก้ว เมื่อบริกรเวียนมาบริการเครื่องดื่มเพิ่มเติม ท่านอาจรับหรือปฏิเสธก็ได้ตามความเหมาะสม เมื่อเจ้าภาพเชิญเข้าห้องรับประทานอาหาร ควรวางแก้วและเดินเข้าไปประจำเก้าอี้ตามผังการนั่ง ไม่ ควรนำเครื่องดื่มจากการเลี้ยงรับรองก่อนอาหารมาที่โต๊ะอาหาร
การเข้าโต๊ะอาหาร

- แขกรับเชิญไม่ควรจะนั่งจนกว่าเจ้าภาพฝ่ายหญิงและแขกผู้มีเกียรติจะนั่งแล้ว หรือเจ้าภาพฝ่ายชายเชิญให้นั่ง สุภาพบุรุษควรช่วยสุภาพสตรีด้านขวาเข้านั่งก่อนที่ตนจะเข้านั่ง

- ในการนั่งควรพยายามนั่งตัวตรงโดยวางมือบนตักหรือวางเบาๆ บนโต๊ะ แต่ไม่ควรวางข้อศอกบนโต๊ะ เพราะอาจเผลอกดโต๊ะพลิกได้ และยังทำให้ผู้อยู่ซ้ายและขวาของท่านพูดคุยกันไม่สะดวก

- เวลานั่งโต๊ะควรเลื่อนเก้าอี้ให้ตัวท่านชิดกับโต๊ะมากที่สุด เพื่อจะได้ไม่ต้องก้ม การนั่งควรนั่งหลังตรง เวลารับประทานอาหารอาจโน้มตัวมาเหนือจานเล็กน้อย

- เมื่อนั่งแล้วควรหยิบผ้าเช็ดปากที่อยู่ด้านซ้ายหรือตรงกลางมาคลี่พาดบน หน้าตักโดยรอปฏิบัติหลังเจ้าภาพ ปกติผ้าเช็ดปากจะวางด้านซ้ายในงานไม่เป็นทางการและจะวางตรงกลางสำหรับงาน เป็นทางการ ในสังคมตะวันตกมักจะมีการกล่าวขอบคุณพระเจ้าก่อนรับประทานอาหาร การคลี่ผ้าเช็ดปากจึงควรรอจังหวะโดยดูเจ้าภาพเป็นหลัก

- หลังจากกล่าวขอบคุณพระเจ้าแล้ว ควรคลี่ผ้าเช็ดปากโดยให้อยู่ในสภาพพับครึ่งและวางขวางบนตัก จะไม่ใช้เหน็บกับเอวหรือคอเสื้อ (วิธีเช็ดปาก : คลี่มุมผ้าแยกออกจากกันพอสมควรแล้วซับที่ริมฝีปาก ใช้แล้ว พับกลับอย่างเดิมวางไว้บนตัก ผู้นั่งใกล้เคียงจะไม่เห็นรอยเปื้อนที่เราเช็ด เพราะรอยเปื้อนจะอยู่ด้านในของผ้า เช็ดปาก) ถ้าจำเป็นต้องไอหรือจาม ให้ใช้ผ้าเช็ดปากปิดปากหรือจมูก และหันหน้าออกจากโต๊ะอาหารก่อนไอ หรือจาม อย่าสั่งน้ำมูก ขากเสลด หรือถ่มน้ำลาย ลงผ้าเช็ดปาก

- หลังการรับประทานอาหารเสร็จสิ้น ถ้าเป็นภัตตาคารให้วางผ้าเช็ดปากบนโต๊ะโดยไม่ต้องพับ ถ้าเป็น บ้านเจ้าภาพ ให้พับสี่และวางบนโต๊ะ ซึ่งถือว่าสิ้นสุดการรับประทานอาหารด้วย อย่างไรก็ตามห้ามม้วนผ้าเช็ด ปากเป็นก้อนหรือขยำไว้บนโต๊ะ
อุปกรณ์ในการรับประทานอาหาร

          อุปกรณ์ในการรับประทานอาหารตะวันตก จะใช้ ส้อมและมีด เป็นหลัก ซึ่งมักจะเรียกว่าเครื่องเงิน (Silverware หรือ Flatware) เพราะเดิมจะทำจากเงิน sterling เครื่องเงินหรือช้อนส้อมมีด จะจัดวางตามลำดับการใช้งาน คือ ตามรายการอาหารที่จะเสิร์ฟ ถ้าอาหารมีหลายรายการ เครื่องเงินย่อมมีมากจนอาจมองดูแล้วน่าสับสน แต่โดยหลักการแล้วจะมีมีด ไม่เกิน 3 เล่ม และส้อมไม่เกิน 3 คัน ไม่ว่าจะเป็นงานเป็นทางการระดับใดก็ตาม ซึ่งถ้าจำเป็นต้องใช้มากกว่านั้น บริกรจะนำมาเพิ่มเติมตามความจำเป็นพร้อมกับอาหารนั้นๆ

1. เลือกใช้จากด้านนอกสุดของจานเข้าหาด้านใน (ทั้งซ้ายและขวา) นั่นคือสิ่งแรกที่ท่านต้องใช้คือ ช้อนคันนอกสุดจากด้านขวา หรือส้อมคันนอกสุดจากด้านซ้ายร่วมกับมีดเล่มนอกสุดจากด้านขวา

2. มีดและช้อน จะอยู่ด้านขวาของจาน และส้อมอยู่ด้านซ้าย ช้อนส้อมสำหรับของหวานจะวาง ถัดไปทางด้านบนของจาน ซึ่งจะ ใช้เป็นอันดับท้ายสุด

3. เครื่องเงินควรใช้นำอาหารเข้าปาก ไม่ใช่ก้มปากมารับอาหาร อย่าแกว่งมีดส้อมประกอบการ สนทนา หากต้องใช้มือประกอบท่าทางในการสนทนาควรวางช้อนส้อมเสียก่อน หากสงสัยถึงความเหมาะสม ในการใช้เครื่องเงินขอให้ประวิงเวลาและดูจากเจ้าภาพเป็นหลัก

ลำดับการเสิร์ฟอาหาร

โดยทั่วไป จะเป็นตามขั้นตอน คือ ขนมปังและเนย ซุป สลัด อาหารจานหลัก ของหวาน ชา/กาแฟ
ขนมปังและเนย

         จานขนมปังจะอยู่ด้านซ้ายของผู้นั่งและบนจานจะมีมีดเนยรูปทรงแบบปลายมน ใช้สำหรับตักเนยใน จานเพื่อทาขนมปังแต่ละชิ้นก่อนรับประทาน บริกรจะเสิร์ฟขนมปังรายบุคคลหรือวางตะกร้าขนมปังบนโต๊ะ ในกรณีที่เสิร์ฟรายบุคคล บริกรจะนำตะกร้ามาบริการทางซ้าย ท่านจะชี้หรือระบุว่าต้องการขนมปังใด (ถ้ามีให้ เลือก) ซึ่งบริกรจะตักวางบนจานขนมปังของท่าน ถ้าเป็นตะกร้าขนมปังให้ใช้ที่คีบหรือมือหยิบขนมปังที่ ต้องการวางบนจานขนมปังของท่าน พึงหลีกเลี่ยงการบีบหรือคลำขนมปังในตะกร้า (เพื่อตรวจสอบความนิ่ม หรือแข็ง) ชิ้นใดที่จับแล้วควรหยิบมารับประทาน การตักเนยจากเนยจานกลาง (นอกจากในกรณีที่ท่านเลือก GARLIC BREAD ซึ่งทาเนยและกระเทียมพร้อมแล้ว) ท่านจะต้องตักเนยจากเนยจานกลาง โดยทั่วไปเนยจานกลางจะจัดเป็นเนยก้อนๆ รูปสี่เหลี่ยม, เปลือกหอย ฯลฯ และมีมีดเนยกลางอยู่ ท่านจะใช้มีดเนยกลางตักเนยมาวางบนจานขนมปังของท่านก่อน หลังจากนั้นจึงจะใช้มีดเนยตนเองทาเนยบนขนมปัง อย่าตักเนยจากจานเนยกลางมาทาขนมปังโดยตรง มารยาทในการรับประทานขนมปังกับเนยคือ ทานเป็นคำ ดังนั้นท่านจะต้องฉีกขนมปังเป็นชิ้นพอดีคำก่อนและจึงทาเนยก่อนรับประทาน อย่ารับประทานโดยการกัดขนมปังนั้น โดยมารยาททั่วไปไม่ควรนำขนมปังมาเช็ดน้ำเกรวี่หรือน้ำซ้อสในจานอาหารหลัก (ENTREE) แต่ในบางประเทศ เช่น อิตาลี การนำขนมปังมาเช็ดซ้อส ถือว่าเป็นการให้เกียรติ แสดงความอร่อยจนหยุดสุดท้ายของน้ำซ้อส (พ่อครัวอาจออกมากอดท่านขอบคุณในการให้เกียรติอย่างสูง)
ซุป

          เมื่อบริกรเสิร์ฟซุปแล้ว จะต้องรีบรับประทาน เพราะซุปจะเย็น และในการเสิร์ฟอาหารเป็นคอร์สนั้น บริกรจะรอแขกคนสุดท้ายรับประทานอาหารคอร์สนั้นๆ เสร็จแล้วจึงยกออก พึงหลีกเลี่ยงการ บิขนมปังจากจานขนมปังลงในซุป สำหรับซุปที่ควรมีขนมปังบิใส่ เช่น CLAM CHOWDER จะมีบริการขนมปังพิเศษเหมาะแก่การใส่ลงในซุปโดยบริกร หรือมีการจัดวางมาเป็นเครื่องเคียงซุปในจานรองซุปให้

         โดยทั่วไปผู้รับเชิญจะต้องรอจนอาหารแต่ละคอร์สได้วางตรงหน้าทุกคน และเจ้าภาพเชิญให้เริ่มรับประทานจึงจะรับประทาน แต่ในงานเลี้ยงใหญ่ เจ้าภาพฝ่ายหญิงอาจเชิญให้รับประทานทันทีที่ได้รับเสิร์ฟเพื่ออาหารจะได้ไม่ เย็น ในกรณีนั้นควรรอให้พร้อมรับประทาน 3-4 คน ก่อน จึงเริ่มรับประทาน

         ซุบบางประเภท เช่น ซุปใส (CONSOMME) ที่เสิร์ฟในถ้วยมีหูสองข้าง สามารถจับหูทั้งสองยก รับประทานได้ นอกนั้นควรใช้ช้อนซุปในการรับประทาน ถ้าซุปเสิร์ฟในจานใหญ่ ให้วางช้อนไว้ในจานเมื่ออิ่มแล้วถ้าเสิร์ฟในถ้วยให้วางช้อนในจานรอง
สลัด

        โดยส่วนมากแล้วสลัดผักในงานเลี้ยงรับประทานอาหารค่ำอย่างเป็นพิธีการ จะจัดมาแล้วทั้งชุด สลัด DRESSING และเนื้อ (ปู,ปลา,ไก่,กุ้ง,เนื้อ ฯลฯ) หากไม่นิยมหรือไม่ถูกกับประเภทเนื้ออาจเลือก รับประทานเฉพาะผัก และเหลือส่วนที่รับประทานไม่ได้ไว้ในจาน (ในบางวัฒนธรรม เช่น ฝรั่งเศส อาจนิยมสลับเสิร์ฟสลัดหลังอาหารหลัก) 
อาหารหลัก

         หลังจากบริกรเก็บจานสลัดเรียบร้อยแล้ว จะทำการเสิร์ฟอาหารหลักซึ่งการเสิร์ฟอาจเสิร์ฟเป็นจาน (PLATE) หรือเสิร์ฟแบบจานเปล (PLATTER) ในการเสิร์ฟเป็นจานจะเสิร์ฟเป็นรายบุคคล โดยบริกรจะยก เสิร์ฟเข้าด้านซ้าย เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสมก็เริ่มรับประทานได้ ในกรณีหลังเช่น การเสิร์ฟปลา บริกรจะนำจานเปลอาหารใช้เลือกรับประทานโดยเข้าทางด้านซ้าย แขกจะใช้ช้อนและส้อมใหญ่ในจาน เปลนั้น นำอาหารจากจานเปลมาไว้ที่จานตนเอง โดยทั่วไปอาหารจะหั่นเป็นชิ้นมาเรียบร้อยแล้วในจานเปล แต่ ถ้าไม่ได้หั่นก็สามารถใช้ช้อนใหญ่หั่นได้ สำหรับจานเปลที่เสิร์ฟอาหารประเภทผัก ช้อนตัก จะมีร่องเพื่อไม่ให้ส่วนประกอบที่เป็นของเหลวหยดเปรอะเปื้อนตอนตักใส่จาน การจับช้อนและส้อมเสิร์ฟนั้น

         ในกรณีที่อาหารหลักเป็นปลา มีดที่เจ้าภาพจัดให้จะเป็นมีดปลา ซึ่งมีปลายมนไม่มีสันคมเหมาะแก่การ เลาะก้างปลาและรับประทานปลา ซึ่งจะวางถัดจากมีดสลัดเข้ามา

การเติมอาหารครั้งที่สอง

         เคยมีกฎว่าในการเลี้ยงอาหารแบบนั่งโต๊ะจะไม่มีการเติมครั้งที่สอง แต่ปัจจุบันเปลี่ยนไปตามลักษณะ และปริมาณของอาหาร มีเจ้าภาพจำนวนมากที่เสนออาหารให้เติมครั้งที่สอง เมื่อแขกได้รับการเสนอ ไม่ควรอายที่จะตอบรับ เพราะแสดงถึงความเอร็ดอร่อยของอาหารซึ่งถือเป็นการเยินยอเจ้าภาพ (โดยเฉพาะถ้าเจ้าภาพ ทำอาหารเอง) แต่หากอิ่มสามารถปฏิเสธได้ตามสบาย  เมื่อรับประทานอาหารจานหลักเรียบร้อยแล้ว ให้รวบส้อมและมีดโดยหันคมมีดไปทางซ้าย ส้อมหงายขึ้น และวางเป็นแนวดิ่งกึ่งกลางของจาน บริกรจะเก็บจานจากทางขวาของผู้นั่ง
กาแฟ

       ในการเสิร์ฟกาแฟ บริกรจะนำชาและกาแฟมาเสิร์ฟ โดยกาแฟจะอยู่ในภาชนะเงินขัดมันทรงสูง (ถ้าเป็นชาจะอยู่ในภาชนะทรงป้อม) การเติมน้ำตาลหรือครีมพึงใช้อุปกรณ์ที่จัดไว้นั้นคือใช้ปากคีบน้ำตามหรือ ช้อนน้ำตาลตักน้ำตาลและเทครีมใส่ถ้วยจากภาชนะเสิร์ฟ การคนกาแฟ ให้ใช้ช้อนชาของตนเอง ห้ามใช้ช้อนชาตักกาแฟมาชิม เมื่อคนเสร็จแล้วให้วางช้อนชาลงบนจานรอง อย่าทิ้งไว้ในถ้วย การดื่มให้ใช้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือจับที่หูถ้วย และยกขึ้นดื่ม โดยระวังไม่ให้มีเสียงดัง หากร้อนเกินไปให้คอย อย่าเป่า (โดยปกติเจ้าภาพจะไม่เสิร์ฟชาหลังอาหารค่ำ ยกเว้นจะได้รับการร้องขอจากแขกเป็นกรณีพิเศษ)

อาหารอื่นนอกจากอาหารหลัก

        ธรรมเนียมแบบ ฝรั่งเศส เจ้าภาพจะจัดให้เสิร์ฟสลัดผักอยู่หลังอาหารจานหลัก นอกจากนั้นแล้วยังมีอาหารอีก 2-3 คอร์สที่ท่านอาจจะพบในงานเลี้ยง แบบตะวันตก คือ
- Hors d’oeuvre ก็คืออาหารเรียกน้ำย่อย หรือใน MENU บางร้านอาหารเรียกว่า APPETIZER โดยทั่วไป แล้วจะเป็นอาหารจานไม่ใหญ่ และมักจะอร่อยเป็นพิเศษเพื่อเรียกน้ำย่อย เช่น SHRIMP COCKTAIL, SMOKED SALMON, OYSTERS หรือ CLAM สด 
- Sorbet หรือ Sherbet เป็นไอสกรีมผลไม้ ไม่ใส่นมหรือครีม บางครั้งปรุงรสด้วยสุรา โดยทั่วไปมักจะเสิร์ฟเป็นก้อนเล็กๆ ในถ้วยไอศกรีมก่อนอาหารจานหลัก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อคั่นระหว่างอาหารคอร์สต่อ ไปที่จะเสิร์ฟ ให้กระเพาะได้พักผ่อนเล็กน้อย และเพื่อให้มีโอกาสพูดคุยระหว่างรับประทานอาหาร
- เนยแข็ง หรือ cheese board จะประกอบด้วยเนยแข็งหลายๆ ประเภท โดยบริกรจะนำมาเสิร์ฟเพื่อให้ ผู้รับประทานเลือก เมื่อเลือกแล้วพนักงานจะตัดเนยแข็งเสิร์ฟพร้อมขนมปัง อาจเสิร์ฟก่อนผลไม้หรือหลังของ หวานขึ้นอยู่กับความประสงค์ของเจ้าภาพ
การกล่าว TOAST

         คำว่า TOAST นั้นมีประวัติอันยาวนานตั้งแต่อดีต ซึ่งในสมัยก่อนนั้นมีการนำขนมปังปิ้ง (TOAST) ใส่ลงในแก้ว BEER หรือเหล้า เมื่อขนมปังเปียกชิ้นขนมปังก็จะจมลงสู่ก้นถ้วย ถ้าในโต๊ะอาหารมีบุคคลใดท้าทาย “TOAST” ความหมายก็คือ เชิญชวนท้าทายดื่มจนหมดแก้วจนถึงชิ้น TOAST

        ในธรรมเนียมปัจจุบัน การดื่ม TOAST จะไม่นิยมดื่มจนหมดแก้ว จะนิยมดื่ม CHAMPAGNE หรือ WINE ในแก้วเพียง 1-2 จิบ (CHAMPAGNE หรือ WHITE WINE เป็นเครื่องดื่มยอดนิยมในการ TOAST ซึ่งกัน และกัน) การที่ดื่ม แต่น้อยก็เพราะการ TOAST มักจะมีต่อเนื่องอย่างน้อย 2 ครั้ง คือจากการเชิญชวนของ เจ้าภาพ (เจ้าภาพจะเป็นคนกล่าว TOAST แขกเสมอตามธรรมเนียม) และจากการเชิญชวนของแขกผู้ได้รับเกียรติ

        การไม่ดื่ม TOAST ถือว่าผิดมารยาทเป็นอย่างยิ่ง ถ้าไม่ดื่มแอลกอฮอล์ สามารถยกแก้วขึ้นแตะ ริมฝีปากพอเป็นพิธีได้

        ถ้าท่านเป็นผู้รับเกียรติในการ TOAST ท่านจะยังคงนั่งในโต๊ะอาหาร บุคคลอื่นที่ดื่มให้แก่ท่าน จะลุกขึ้นยืนให้เกียรติถ้าบุคคลที่ TOAST ให้ท่านซึ่งเป็นผู้ที่มีอาวุโสสูงหรือมีเกียรติยศสูง ท่านอาจจะยืนรับการTOAST แต่ท่านจะไม่ดื่มด้วยเพราะจะเป็นการดื่มให้แก่ตนเอง หลังจากทุกคนที่ดื่มให้แก่ท่านได้นั่งลงแล้ว ท่านอาจยืนและกล่าวขอบคุณพร้อมกับ TOAST ตอบแทนได้ ในกรณีท่านเป็นสุภาพสตรี ท่านอาจใช้วิธีกล่าว TOAST ตอบแทน หรือแค่ยกแก้ว และรับยิ้มรับทราบให้แก่ผู้ให้เกียรติท่านเป็นเชิงขอบคุณ

       โดยทั่วไปการกล่าว TOAST จะกล่าวหลังรับประทานอาหาร อาจเป็นระหว่างหรือหลังรับประทานของหวานก็ได้ คำ TOAST ต่างประเทศ ที่ง่ายที่สุดและนิยมใช้คือ TO YOUR HEALTH


การอำลา

      ปกติแขกจะลากลับจากการเลี้ยงอาหารค่ำแบบนั่งโต๊ะตามเวลาในบัตรเชิญ หรือเวลาในกำหนดการที่พิมพ์ไว้ใน MENU รับประทานอาหารค่ำ ในกรณีที่ไม่กำหนดเวลาเสร็จสิ้นงานรับประทานอาหาร แขกควรเริ่มอำลาเจ้าภาพได้หลังจากลุกจากโต๊ะอาหารมารับประทานเครื่องดื่ม หลังอาหารประมาณ 15 - 30 นาที สำหรับในงานเลี้ยงอาหารค่ำอย่างเป็นทางการ เจ้าภาพอาจมีเทคนิคในการแสดงนัยของการจบงานเพื่อให้แขกลากลับได้ ด้วยการส่งสัญญาณให้ดนตรีหยุดแสดงหรือเปิดไฟสว่างขึ้นหรือมีพิธีกรกล่าวปิด งาน เป็นต้น

การขอบคุณ

         นอกจากขอบคุณเจ้าภาพตอนลากลับแล้ว แขกควรเขียนจดหมายขอบคุณ ที่เหมาะสมคือส่งให้ใน วันถัดไป (อนุโลมภายใน 1 อาทิตย์) ในจดหมายควรแสดงความขอบคุณในการต้อนรับ และ ให้เอ่ยถึงจุดหนึ่งหรือสองจุดในงานเลี้ยงที่แขกพึงพอใจมากเป็นพิเศษ

         ในงานเลี้ยงหากมีวงดนตรีหรือการจัดแสดงเป็นพิเศษ แขกเกียรติยศควรหาโอกาสเดินไปกล่าวขอบคุณหัวหน้าวงดนตรี หรือหัวหน้านักแสดงด้วย จังหวะที่ เหมาะสมคือก่อนจะอำลาเจ้าภาพเพื่อกลับ หรือเมื่อนักดนตรี/นักแสดงกล่าวอำลาเมื่อจบการแสดง
มารยาทการรับประทานอาหารล้านนา

           ชาวล้านาเรียกการรับประทานอาหารโดยทั่วไปเรียกว่า กิ๋นเข้า คือกินข้าว มีการรับประทานอาหารโดยแบบแผนดั้งนี้
           อาหารมื้อหลัก คือ เข้านึ่ง หรือข้าวนึ่ง และกับข้าวเรียกว่า ของกิ๋น เช่น น้ำพริก ลาบ ส้า ยำ ตำ ปิ้ง ต้ม นึ่ง เป็นต้น แต่ที่นิยมคือ น้ำพริกและแกง
โดยรับประทานอาหาร 3 มื้อ เช้า กลางวัน เย็น สถานที่รับประทาน ตั้งแต่โบราณในบ้านจะมีชานเรือน โดยจะนั่งล้อมวงกันรับประทานอาหาร(เติ๋นบ้าน) ปัจจุบันบางครัวเรือนอาจจะทำห้องรับประทานอาหาร และรับประทานอาหารบนโต๊ะ 
อุปกรณ์ในการรับประทานอาหาร โดยทั่วไปมีอุปกรณ์ดังนี้

- ขันโตก หรือสะโตก เป็นภาชนะสำหรับวางอาหารในขณะรับประทานอาหารเพื่อให้อาหารนั้นอยู่ใน
ระดับสูงกว่าพื้น ทำด้วยไม้หรือหวาย มีหลายขนาด ถือเป็นของใช้ประจำครัวเรือนอย่างหนึ่ง
- ถ้วยแกง เป็นถ้วยก้นลึก อาหารประเภทมีน้ำแกงจะใช้ภาชนะนี้
- ถ้วยแบน หรือจาน/ชาม มีลักษณะแบน อาหารประเภททอด ปิ้ง คั่วหรือผัด มักจะตักใส่ ภาชนะนี้
- ช้อน ในสมัยโบราณไม่มีใช้ ต้องแต่งกะลามะพร้าวให้ขึ้นรูปเป็นช้อน หรือทำจากข้อไม้ไผ่ ใช้สำหรับตักน้ำแกงซด หรือเขี่ยอาหารในน้ำแกงให้ขึ้นมาข้างบน เพื่อจะได้หยิบรับประทานได้ง่าย ไม่ต้องควานหาในน้ำแกง ในยุคก่อนแต่ละบ้านจะมีช้อนจำนวนจำกัด บางครั้งในขันโตกนั้นจะมีช้อนเพียงคันเดียว คนที่ร่วมวงต้องผลัดกันซดจึงจะได้
- กล่องข้าว ในสมัยก่อนนิยมทำมาจากไม้ไผ่หรือใบตาลสาน บุข้างในด้วยกาบหมากหรือกาบไม้ไผ่ เพื่อกันความชื้นแฉะและรักษาความร้อน ปัจจุบันมักพบใช้กระติกน้ำแข็งบุด้วยผ้าขาวบาง เพราะสามารถเก็บความร้อนได้นานกว่า ในแต่ละครอบครัวจะมีจำนวนกล่องข้าวขึ้นอยู่กับจำนวนคนใน ครัวเรือนแต่มักมี ๑-๓ กล่อง และจะใช้ ๒ คนต่อหนึ่งกล่อง หรือหากมีคนจำนวนมาก อาจจะฅดเข้าหรือนำข้าวจากกล่องใส่จานเพิ่ม ขึ้นอีก 
ลักษณะการจัดวางอาหาร อาหารทุกอย่างจะวางไว้บนขันโตก อาหารประเภทแกงอาจตัก ๒ ชาม ทั้งนี้แล้วแต่จำนวนคน จำนวนอาหารบนขันโตก และความเหมาะสม ถ้าเป็นอาหารประเภทน้ำพริก ยำ ลาบ ส้า ซึ่งมีผักกับคือผักจิ้มด้วย ก็จะเอาผักจิ้มใส่ไว้ระหว่างช่องว่างที่วางถ้วยชามเช่นเดียวกับช้อนสำหรับ กล่องข้าวหรือจานข้าวเหนียวนั้น จะวางกับพื้นและวางในลักษณะสับทุก ๆ สองคนที่นั่งล้อมวงอยู่ แต่ทั้งนี้อาจจะใช้กล่องข้าวหรือจานข้าวสำหรับแต่ละคนก็ได้

        มารยาทและแบบแผนในรับประทานอาหาร เมื่อประกอบอาหารเสร็จและจัดวางอาหารเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะยกขันโตกและกล่องข้าวมาวางยังสถานที่ที่จะรับประทานอาหาร เช่น ชานเรือนหรือ เติน ซึ่งจะมีการปูเสื่อไว้ก่อน อาจมีการเตรียมน้ำล้างมือและผ้าเช็ดไว้ให้ที่นั่นด้วย จากนั้นจึงเรียกสมาชิก ครอบครัวมากินข้าวพร้อมกัน โดยจะนั่งล้อมวงรอบขันโตก ซึ่งมักจะนั่งตามตำแหน่งอย่างที่เคยกันมาเหมือนทุกวันโดยพ่อและแม่จะนั่งติด กันหรือตรงข้ามกัน เวลารับประทานจะให้พ่อแม่หรือผู้อาวุโสที่สุดในครอบครัวลงมือรับประทานก่อน เป็นคนแรก จากนั้นลูก ๆ หรือผู้อ่อนอาวุโสจึงจะลงมือรับประทานตามมา ซึ่งธรรมเนียมเช่นนี้ได้ปฏิบัติกัน มานาน ดังจะปรากฏในชาดกล้านนาหลายเรื่องเช่น เรื่องฮีตคลองโบราณ เรื่องหงส์ผาคำ เรื่อง หงส์หิน เรื่องโปราพญาบ่าวน้อย ซึ่งวรรณกรรมเหล่านี้ได้กล่าวถึงการรับประทานอาหารที่เด็กๆ ต้องรอผู้ใหญ่ลงมือรับประทานก่อน ตนเองจึงจะรับประทานได้ ถือเป็นการให้ความเคารพแก่ผู้มีอาวุโสสูงกว่า
       ก่อนลงมือรับประทานอาหาร หากมีอาหารจำพวกมีน้ำมัน เช่น ทอด หรือผัด ก็มักจะหยิบส่วนที่เป็นน้ำมันมาทามือก่อน เพื่อไม่ให้ข้าวเหนียวติดมือ
วิธีการนั่งรับประทานอาหาร นั้นก็มีหลายลักษณะ ได้แก่

- นั่งขดถวาย คือการนั่งขัดสมาธิ ถือเป็นการนั่งแบบสุภาพสำหรับผู้ชาย พระสงฆ์ หรือเจ้านาย จึงมีคำพังเพยกล่าวถึงการนั่งกินข้าวแบบนี้ว่า “ยามเยียะการ แฮงอย่างงัวอย่างควาย ยามกินเข้าขดถวายอย่างท้าว”(ยามทำงานก็ให้ทำอย่างทุ่มเท ยามรับประทานอาหารก็ให้มีรู้สึกสบายและภาคภูมิในตนเองเหมือนเป็นเจ้านาย) แต่สำหรับผู้หญิงแล้วการนั่งขดถวายถือว่าไม่สุภาพเรียบร้อย
- นั่งหม้อแหม้ หรือ ป้อหละแหม้ คือการนั่งพับเพียบ ถือเป็นท่านั่งที่สุภาพสำหรับผู้หญิง ซึ่งผู้ชายจะนั่งท่านี้ก็ต่อเมื่อทำพิธีทางศาสนาหรือเข้าเฝ้าเจ้านายเท่า นั้น
- นั่งหย่องเขาะ หย่องเหยาะหรือ ข่องเหยาะ คือ การนั่งยอง ๆ ลักษณะนี้พวกผู้ชายหรือเด็ก ในวัยเดียวกันนิยมนั่งรับประทานอาหารเพราะไม่กินที่ล้อมวงกัน หรือใช้นั่งในสถานที่ที่พื้นไม่สะอาดหรือราบเรียบพอที่จะนั่งขัดสมาธิหรือ นั่งพับเพียบได้ นอกจากนี้การนั่งท่านี้ยังมีความคล่องตัวสูงเวลาเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นมา จะสามารถลุกขึ้นได้ทันที แต่ท่านี้ก็ไม่นิยมนั่งในที่สาธารณะเพราะถือว่าไม่สุภาพ
- นั่งปกหัวเข่า คือการนั่งชันเข่า มักพบในผู้สูงอายุ อาจเพราะเป็นท่าที่สบาย ไม่เมื่อยขบเท่านั่งการนั่งพับเพียบหรือขัดสมาธิ
- นั่งเหยียดแข้ง พบในคนแก่ที่มีอาการปวดเมื่อยได้ง่าย ซึ่งส่วนมากจะไม่นิยมกันหากไม่มีความจำเป็นจริง ๆ เพราะถือว่าไม่สุภาพ

         วิธีการรับประทานข้าวนึ่ง การรับประทานข้าวนึ่งหรือข้าวเหนียว จะรับประทานด้วยมือเป็นหลัก โดยจะใช้มือใดมือหนึ่ง (ที่ใกล้กับกล่องข้าว) ฅดเข้า คือคดข้าวมาไว้กำมือหนึ่ง และกำไว้ในมือที่ไม่ถนัด แล้วใช้มือที่ถนัดบิดข้าวเหนียวขนาดพอดีคำ ปั้นเป็นก้อนกลม เพื่อไม่ให้ข้าวยุ่ยแตกออกจากกันเมื่อจิ้มน้ำแกง บางคนอาจใช้หัวแม่มือหยักลงไปบนก้อนข้าวนั้นให้เป็นหลุมเล็กน้อย ซึ่งเรียกว่าหักหน้าวอก เพื่อวักอาหารได้มากขึ้น หากรับประทานฝืดคออาจใช้ช้อนตักน้ำแกงซด หรือใช้ก้อนข้าวจุ่มน้ำแกงให้ชุ่มพอประมาณใส่ปากกิน ก็ได้

         สิ่งที่ไม่ควรกระทำในระหว่างรับประทานอาหาร การรับประทานอาหารนั้นมารยาทถือเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง เนื่องจากเป็นการนั่งอยู่กันพร้อมหน้าทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่ ถือเป็นแบบอย่างที่ดีของเด็ก ส่วนเด็กต้องให้ความเคารพผู้ใหญ่ อีกประการหนึ่งคือ ข้าวปลาอาหาร ถือเป็นสิ่งมีพระคุณที่หล่อเลี้ยงชีวิตต้องให้ความเคารพด้วยเช่นกัน ดังนั้นในการรับประทานอาหารจึงมี
ข้อห้าม หรือสิ่งที่ไม่ควรกระทำ คือ

- ไม่ผายลม ขณะรับประทานอาหาร

- ไม่ถ่มถุย ขณะรับประทานอาหาร

- ไม่กล่าวสิ่งที่น่ารังเกียจ เช่น อุจจาระ เป็นต้น ขณะรับประทานอาหาร

- ไม่เล่นหยอกล้อเล่นกัน ขณะรับประทานอาหาร

- ไม่ทะเลาะกัน ขณะรับประทานอาหาร

- ไม่หัวเราะ ขณะรับประทานอาหาร

- ไม่พูดมาก ดังที่ภาษิตว่า “ดักเมื่อกินเข้า ดักเมื่อเข้านอน” (ดัก-เงียบ, เข้า-ข้าว”)

- ไม่เอาช้อนเคาะกัน ไม่เอาช้อนเคาะถ้วยชามหรือขันโตกให้เกิดเสียงดัง

- ไม่นินทาผู้อื่นในขณะกินข้าว (เชื่อว่าจะทำให้ผู้ถูกนินทาฝันถึงอวัยวะเพศของผู้นินทา)

- ไม่ใช้ช้อนคนแกงหรืออาหารจนหกล้นถ้วย

- ไม่ไซ้หรือตักค้นหากินเฉพาะสิ่งที่ตนเองชอบกินเท่านั้น

- ไม่กินบกจกลง คือ คดข้าวหรือตักกินอาหารเฉพาะตรงกลาง

- ไม่ใช้ปากเล็มหรือเลียข้าวและอาหารที่ติดมือ หรือจูบมือที่เปื้อนอาหาร

- เมื่ออิ่มแล้วไม่บ่นว่า “คัดท้อง-กั๊ดต๊อง” ถือเป็นคนโง่ ไม่รู้จักประมาณตน

- ไม่จกหม้อแกง คือ ไม่แอบกินก่อนหรือลับหลังผู้อื่น โดยตักหรือหยิบกินคาหม้อแกง

         เมื่อผู้ใดรับประทานอาหารอิ่มก่อนก็สามารถลุกขึ้นไปดื่มน้ำได้ เมื่อรับประทานอาหารกันเสร็จเรียบร้อย เด็ก ๆ หรือผู้อ่อนอาวุโสจะเป็นผู้เก็บสำรับอาหาร ข้าวเหนียวที่เหลือกินจะเก็บใส่กล่องข้าว ตามเดิม ไว้รับประทานมื้อต่อไป ส่วนอาหารที่เหลือในชามถ้าเหลือมากจะใช้ฝาชีครอบไว้หรือเก็บไว้ก่อนในตู้กับ ข้าว ปัจจุบันมีตู้เย็นก็เก็บไว้ในตู้เย็น แต่ถ้าเหลือน้อยหรือเป็นเศษอาหารจะนำไปเทใส่ หม้อเข้า-หมู สำหรับให้หมูกินต่อไป เมื่อคนกินข้าวแล้วจึงจะเอาข้าวให้หมากิน
สำหรับผู้ใหญ่ หลังรับประทานอาหารอาจมีการอมเหมี้ยง เคี้ยวหมาก สูบบุรีขี้โย ส่วนอาหารว่างนั้น ตามธรรมเนียมล้านนาแล้วไม่มี แต่อาจมีอาหารกินเล่นในบางครั้ง ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับฤดูกาลและผลผลิตทางการเกษตรของครัวเรือน เช่น ถั่วลิสงต้ม ถั่วเหลืองต้ม มันเทศต้ม ข้าวโพดต้ม มะม่วงสุก เป็นต้น  
 credit : http://bc50-diwatomza.blogspot.com/2010/06/blog-post_30.html

คำศัพท์ภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้องกับอาหาร



คำศัพท์เหล่านี้มีความจำเป็นสำหรับการอ่านตำหรับอาหารที่เป็นภาษาต่างชาติ ซึ่งคำศัพท์เหล่านี้ได้แก่

คำศัพท์ ข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์ 


ก๋วยเตี๋ยวเส้นเล็ก Narrow wet rice noodles (แน-โรว เวท ไรช์ นูด เดิลส์)

ก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่ Wide wet rice noodles (ไวด์ เวท ไรช์ นูด เดิลส์)

เกี๊ยวกรอบ Fried minced pork wrapped in wanton sheet

เกี๊ยวหมู Minced pork wrapped in wanton sheet

ขนมครก Small dish-shape cake made of rice,Flour,Sugar and coconut milk

ขนมจีน Vermicelli

ขนมปัง Bread

ข้าวกล้อง Half milled rice,Brown rice,Unpolished rice

ข้าวเกรียบ Crispy rice cake

ข้าวจี่ Glutinous rice ball with some molassrs inside

ข้าวสารเจ้า Rice

ข้าวแช่ Cooked rice in frgrant water eat with different condiments

ข้าวต้ม Boiled rice

ข้าวตอก Popped rice

ข้าวตัง Crispy cooked rice crust that sticks to the dottom of the rice

pot,Rice discuit

ข้าวตู Powdered roasted sun dried cooked rice mixed with palm

sugar and shredded coconut

ข้าวฟ่าง Sorghum

ข้าวมัน(ส้มตำ) Rice cooked in coconut milk (eat with papaya salad)

ข้าวเม่า Young rice,unhusked,flattened and roasted

ข้าวยาคู A drink made of water extracted from pounded unripe rice boiled with sugar

ข้าวสวย Steamed rice

ข้าวหมาก Sweet fermented glutinous rice

ข้าวหลาม Glutinous rice mixed with salt sugar and coconut cream,roasted in a bamboo joint

ข้าวเหนียว Glutinous (Sticky) rice

ข้าวเหนียวดำ black glutinous (Sticky) rice

ข้าวเหนียวเปียก Glutinous rice pudding

บะหมี่ Egg noodles,Wheat flour noodles

บะหมี่สำเร็จรูป Instant egg noodles

ปลายข้าว Broken milled rice

แป้งเกี๊ยว Wanton sheets,Wanton wrappers

แป้งข้าวจ้าว Rice flour

แป้งข้าวโพด Corn starch,corn flour

แป้งข้าวหมาก Yeast

แป้งข้าวเหนียว Glutinous rice flour,Sticky rice flour

แป้งถั่วเขียว Mung bean flour

แป้งท้าวยายม่อม Arrow-root starch

แป้งเผือก Taro root flour

แป้งมัน Cassava flour

แป้งสาคู Sago flour,Tapioca flour

แป้งสาลี Wheat flour

แป้งห่อปอเปี๊ยะ Spring roll sheets

ลูกเดือย Millet

วุ้นเส้น Mung bean vermiceill,Mung bean noodles,Glass noodles

สาคูเมล็ด Sago pellets,Ttappioca pellets

เส้นหมี่แห้ง Tiny,dried rice noodles


คำศัพท์ เครื่องปรุงรส

กระเทียมเจียว Fried garlic

กระเทียมดอง pickled garlic

กะทิ Coconut milk

กะปิ Shrimp paste

เกลือ Salt

ของดอง Pickled garlic

ขัณฑสกร Saccharin

ขิงดอง Pickled ginger

เครื่องเทศ Spice

ซอสพริก Chili sauce

ซอสมะเขือเทศ Tomato ketchup

ซี้อิ้วขาว Light Soya sauce

ซี้อิ้วดำ Black Soya sauce ,[Thick Soya sauce]

เต้าเจี้ยว Fermented soya bean

เต้าเจี้ยวน้ำ soy bean paste

น้ำเชื่อม Syrup

น้ำซุป Soup stock

น้ำตาลก้อน Cube sugar

น้ำตาลโตนด Jaggery palm

น้ำตาลทราย Sugar

น้ำตาลทรายแดง Brown sugar

น้ำตาลป่น Icing

น้ำตาลปี๊บ Palm sugar

น้ำตาลปึก loaf sugar

น้ำตาลเมเปิ้ล Maple sugar

น้ำปลา Fish sauce

น้ำผึ้ง Honey

น้ำมะขามเปียก Tamarind juice

น้ำมะนาว Lime juice

น้ำมันข้าวโพด Corn oil

น้ำมันงา Sesame oil

น้ำมันพืช Cooking oil,Vegetable oil

น้ำมันมะกอก live oil

น้ำมันหมู Lard

น้ำมันหอย Oyster sauce

เนยแข็ง Cheese

เนยเค็ม Salted butter

เนยจืด Unsalted butter

เนยเทียม Margarine

ผิวส้มซ่า Sliced lemon rind

มัสตาด Mustard

เมล็ดงา Sesame seeds

หอมเจียว Fried shallots

หัวกะทิ Coconut cream

หางกะทิ Dilute coconut cream

เหล้า Alcohol

คำศัพท์ เนื้อสัตว์

กบ Frog

ก้างปลา Fish bone

ก้ามปู Pincer,Claw

กุ้งกุลาดำ Tigre prawn,shrimp

กุ้งชีแห้ง Prawn,Shrimp

กุ้งแช่บ๊วย White prawn,shrimp

กุ้งนาง Crayfish

กุ้งแห้ง Dried shrimp

กุ้งแห้งป่น Ground,dried shrimp

กุ้งใหญ่ , กุ้งมังกร Lobster

ไก่ Chicken

ไข่กลอกเป็นแผ่นบางๆ Swirl to from tin layer

ไข่ไก่ Egg

ไข่ขาว White egg

ไข่เค็ม Salted egg

ไข่แดง Yolk

ไข่ต้ม Boiled egg

ไข่นกกระทา Quail egg

ไข่ปลา Sdawn

ไข่ปลาทั้งลอน Roe

ไข่ปลาทั้งลอน Roe

ไข่ปู Crab's spawn

ไข่เป็ด Duck egg

ไข่เยี่ยวม้า Egg soaked in quick lime,until the white turn to dark geen

ตับหมู Pork Liver

เต้าหู้ Bean curd

เต้าหู้ขาวอ่อน Soft white bean curd

เต้าหู้ยี้ Fermented bean curd

เต้าหู้หลอด Soft white bean curd

เต้าหู้เหลือง Yellow bean curd

น่องไก่ Drumstick

เนื้อกวาง Venison

เนื้อแกะ Mutton

เนื้อเค็มแห้ง Salty sun dried beet

เนื้อติดชี่โครง Chop

เนื้อปลาขูด Scraped fish meat

เนื้อลูกวัว Veal

เนื้อวัว Beef

เนื้อสะโพก Rump

เนื้อสัน Filet mignon

เนื้อสันนอก Sirloin

เนื้อสันใน Tenderloin

เนื้อหมู Pork

เนื้อเอ็นน่อง(วัว) Beef shank

เบคอน Bacon

ปลากระป๋อง Canned fish

ปลากราย Feathre back

ปลากะบอก Mullet

ปลากะพงขาว Bass

ปลากะพงแดง Snapper

ปลากุเลา Haddock

ปลาเก๋า Rock cod

ปลาเค็ม Salty fish

ปลาจาระเม็ด Pomfret,Butter fish,Halibut

ปลาช่อน Serpent head

ปลาซัลมอน Salmon

ปลาดุก Catfish

ปลาดุกฟู Crispy fried catfish

ปลาแดง Red snapper

ปลาตะเพียน Bream

ปลาทู Mackerel

ปลาน้ำจืด Fres water fish

ปลาเนื้ออ่อน Sheat-fish

ปลาร้า Fermented fihs

ปลาลิ้นหมา Sole

ปลาสร้อย Cyprinid fish

ปลาสลิด Gouramy

ปลาหมอ Climbing perch

ปลาหมึก Squid

ปลาหมึกกระดอง Cuttlefish


ปลาหมึกยักษ์ Octopus
ปลาหมึกแห้ง Dried squid

ปลาแห้ง Sun dried fish

ปลาไหล Eel

ปลาอินทรีย์ Mackerel

ปลาโอ Tunny,Tuna

ปู Crab

เป็ด Duck

เป็ดย่าง Roasted duck

แมงกะพรุน Jellyfish

ไส้กรอก sausage

หนวดปลาหมึก Tentaclrs

หมูบด Ground pork

หมูสับบะฉ่อ Minced pork

หมูสามชั้น Pork belly

หมูหั่นชิ้นยาวๆ Slice pork

หมูหั่นสี่เหลี่ยมลูกเต๋า Diced pork

หอยแครง Blanched

หอยเซลล์ Scallop

หอยนางรม Oyster

หอยเป๋าฮื้อ Abalone

หอยแมลงภู่ Mussels

แหนม Fermented pork

อกไก่ Chicken breast

แฮม Ham

คำศัพท์ พืชผัก และสมุนไพร

กรรณิการ์(ดอก) Ebony Flower,Night blooming jasmine

กระจับ Water cherstnut

กระเจี๊ยบ Roselle

กระชาย Galangal,Wild ginger

กระดังงาไทย Ilang-Ilang

กระถิน Lead

กระเทียม(กลีบ) Garlic cloves

กระเทียม(ตำ) Crashed,Minced garlic

กระเพรา Hoiy basil

กะหล่ำปม Brussels sprouts

กะหล่ำปลี Cabbage

กานพลู Clove

เกาลัด Chest nut

ขมิ้น Turmeric

ขมิ้นขาว White turmeric

ข่า Galangal

ข้าวโพด Corn,Maize

ข้าวโพดหวาน Sweet corn

ข้าวโพดอ่อน Baby cron

ขี้เหล็ก Siamese cassia

ขิง Ginger

ขิงแก่ Mature Ginger

ขิงผง Powder Ginger

ขิงอ่อน(สด) Young Fresh ginger

ขึ้นฉ่าย Celery

ชะพลู Betel leaf

ชะมวง A leaves of genus garcinia tree

ชะอม Cha-om (A plant of the genus Acacia insuvais)

ชะเอม Liquorice

ดอกกะหล่ำ Cauliflower

ดอกขจร Milkweed flower

ดอกคำฝอย Safflower

ดอกมะลิ Jasmine

ดอกไม้จีน Lily flower

ดอกอันชัน Indigo flower,butterfly flower

ดีปลี Long pepper

ต้นกระเทียม Leek,Chinese leek

ต้นกุยช่าย Chinese chives

ต้นหอม Spring onions

ตะไคร้ Lemon grass

ตังโอ๋ A vegetable of celery family

แตงกวา Cucumber

ถั่วเขียว Mung bean,green bean

ถั่วแขก Pod green pea

ถั่วงอก Bean sprouts

ถั่วแดง Red bean

ถั่วแปบ Hyacinth bean

ถั่วผี rice bean

ถั่วฝักยาว Long podded cowpea,String bean

ถั่วพู winged bean,Four-angled bean

ถั่วมะแฮะ Chick pea

ถั่วแระ pigeon pea

ถั่วลันเตา Garden pea,Sweet pea,Mangetout

ถั่วลิสง Peanut

ถั่วลิสงคั่วปน Crashed,ground roasted peanuts

ถั่วเหลือง Soya bean

เทียนอบ Fragrant candle

น้ำเต้า Bottle gourd

น้ำมะขาม Tamarind juice

บวบฝรั่ง Zucchini

บวบหอม Snake gourd

บวบเหลี่ยม Sponge gourd

ใบกระวาน Bay leaf

ใบเตยหอม Screwpine,Sword-like leaves,pandas leaf

ใบทองหลาง Coral tree leaves

ใบบัวบก Indian pennywort

ใบมะกรูด Coriander leaves

ใบมะกอก kaffir lime leave

ใบมะขามอ่อน Hog plum leaves

ใบยอ Young tamarind leaves

ใบโหระพา Morinda

โป๊ยกั๊ก Sweet basil

ผงพะโล้ Anise,Star anise

ผักกระเฉด Anise seed powder

ผักกวางตุ้ง Water mimosa

ผักกาดขาว Bok choy

ผักกาดหอม Lettuces

ผักกาดหางหงส์ Celery cabbage

ผักโขมจีน Chinese spinach

ผักคะน้า Chinese broccoli

ผักชี Coriander,Chinese parsley

ผักชีฝรั่ง Parsley

ผักชีลาว Dill

ผักตำลึง Ivy gour

ผักบุ้ง Swamp cabbages

ผักป๋วยเล้ง Spinach

ผิวมะกรูด Kaffir lime rind

ผิวมะนาว Lime rind

เผือก Taro

ฟักข้าว balsam apple

ฟักเขียว Wax gourd

ฟักทอง Pumpkin

มะกรูด Kaffir lime

มะขามเปียก Tamarind concentrate

มะเขือเทศ Tomato

มะเขือพวง Small egg plate,Plate brush egg piant

มะเขือยาว Long egg plants

มะดัน Shredded madan

มะนาว Lime rind

มะม่วงหิมพานต์ Cashew nut

มะระ Bitter gourd

มะรุม Horse radish

มะอึก Furry eggplants

มันเทศ Sweet potatoes

มันฝรั่ง Potatore

มันสำปะหลัง Cassava

แมงลัก Lemon-scented basil

ยอ Indian mulberry

ยอดฟักทอง Pumpkin wine tip

ยอดมะพร้าวอ่อน Coconut palm tip

ยี่หร่า Caraway

รากผักชี Coriander root

รำข้าว Barley rice brain

ลูกกระวาน Cardamoms

ลูกจันทน์ Nutmeg

ลูกเดือย Job's tears,Tear grass,Millet

ลูกตาล Fishtail palm

สะเดา Neem,Nimสะระแหน่ Mint leaf

สาหร่ายทะเล Seaweed

โสม Sesbania

หน่อไม้ Ginseng

หน่อไม้ฝรั่ง Bamboo shoot

หอมแดง Asparagus

หอมหัวใหญ่ Shallots,Scallions

หัวไชเท้า Onions

หัวปลี Banana bud,Banana flowre

หัวผักกาด Turnip

เห็ด Mushroom

เห็ดโคน Common white mushroom

เห็ดแชมปิยอง Champion

เห็ดนางฟ้า Angel mushroom

เห็ดนางรม Oystre Mushroom

เห็ดเป๋าฮื้อ Abler mushroom

เห็ดเผาะ Puffball

เห็ดฟาง Straw mushroom

เห็ดหอม Dried Chinese mushroom

เห็ดหูหนู Ear mushroom,Black mushroom

แห้ว Truffle

อบเชย Cinnamon


คำศัพท์ ผลไม้

กระท้อน Santon
กล้วย Banana
กะทกรก Passion fruit
กากมะพร้าว Coconut meat residue
ขนุน Jack fruit
แคนตาลูป Cantaloupe
เงาะ Rambutan
ชมพู่ Rose apple
แตงไทย Musk melon
แตงโม Water melon
ทับทิม Pomegranate
ทุเรียน Durian
น้อยหน่า Custard apple,Sweet sop
น้อยโหน่ง Bullock's heart
ฝรั่ง Guava
พลับ Persimmon
พุทรา Jujube
มะขาม Tamarind
มะเดื่อ Fig
มะปราง Plum mango
มะพร้าว Coconut
มะพร้าวห้าว Ripe coconut
มะพร้าวแห้ง Dried coconut
มะพร้าวอ่อน Young coconut
มะเฟือง Star fruit,Carambola
มะม่วง Mango
มะม่วงดิบ Raw,Green,Crispy mango
มะม่วงสุก Ripen mango
มะยม Star gooseberry
มะละกอ Papaya,paw-paw
มังคุด Mangosteen
มันแกว Yam bean
ละมุด Sapodilla fruit
ลางสาด Iangsat
ลำไย Lon-gan fruit
ลิ้นจี่ Lynchee
ลูกตาล Palm fruit
ลูกท้อ Peach
สตรอเบอร์รี Strawberry
ส้ม Orange
ส้มเขียวหวาน Mandarin,Tangerine orange
ส้มจีน , ส้มเกลี้ยง Tangelo
ส้มโอ Thai graph fruit, Pomelo
สับปะรด Pineapple
สาเก Bread fruit
องุ่น Grape
อ้อย Sugar cane
อินทผลัม Date palm
แอปเปิล Apple


คำศัพท์ วิธีการเตรียม และการประกอบอาหาร

กด Press

กรอง Strain

กรองด้วยผ้าขาวบาง Blot

กลิ้ง Roll

กวน ( กวนไปในทางเดียวกัน) Stir

กวน ( คนของผสมให้เข้ากัน) Beat

การเคี่ยว Simmer

การต้ม Boiling

การต้มอย่างสุกๆ ดิบๆ Parboil

การทอด Sauteing ,Frying

การทอดโดยใส่น้ำมันมาก ให้ท่วมอาหาร Deep fry

การนึ่ง Steam

การปอก Pare,Pell

การผสม โดยการตีหรือคนให้เข้ากัน Mix

การผิงโดยไฟบน Gratin

การย่าง Grilling,Broilling,Roasting

การร่อน Sift

การแล่เนื้อ Butchery

การสตู Stewing

การสับให้เป็นชิ้นเล็กๆ Mince

การอบ Roasting,Braising

การอบในเตาอบ Roasting meats in the oven

แกะเปลือกออก Shell

ขอด Descale

ขอดเกล็ดปลา Descale the fish

ขูด Scrape

โขลก Pound

คน Stir

คนเป็นครั้งคราว Stir occasionally

คนเร็วๆ Stir quickly

คนสม่ำเสมอ Stir constantly

คลุก Toss

คว้าน หรือ ตัก หรือ แซะ Scoop

คั้น Squeeze

คั่ว Dry-fry

เคี่ยว Simmer

จักเป็นร่อง Cut channels down the length

จิ้ม หรือ ชุบ หรือ จุ่ม Dip or Immerse

ฉาบด้วยน้ำตาล Coated with sugar

เฉาะ Open the shall

เฉือน Trim

แช่น้ำไว้ Soak

แช่พริกแห้งในน้ำ Soak the dried chillies

ซอย Shred

แซะเมล็ดออก Scoop out the seeds

เด็ดทิ้ง Discard

ต้ม Boiling

ตั้งกะทิให้แตกมัน Bring the coconut milk to the boil until some oil

has surfaced

ทอด Deep fry

ทอดค่อนข้างดิบ Rare-bleu

ทอดค่อนข้างสุก Medium-rare-saignant

ทอดจนเหลือง Deep fry until golden

ทอดปานกลาง Medium-a Point

ทอดระยะสั้น A La Minute

ทอดสุก Welldone-bien Cuit

ทา Spread

ทิ้งให้เย็น Cool

ทุบพอแตก Slightly crushed

เท Pour

นวด Knead

นึ่ง Steam

บด Grind

บั้ง Score

บิ (ทำให้แตกออก) Break

บี้ หรือ บด Mash

ปรุงให้สุก Cook

ปอกเปลือก Peel

ปิ้ง Toast

ปิด หรือ คลุม Cover

ผสม Mix

ผัด Stir-fry or Sauté

ผูก Truss

ฝาน หรือ หั่นเป็นชิ้นบาง Slice

ม้วน Roll up

ยัดไส้ Stuffing

ย่าง Grill

ย่างใต้ระดับความร้อน undre Heat

ย่างระหว่างความร้อน Between Heat

ย่างเหนือความร้อน Over Heat

ยี Puree

รมควัน Smoked

รวน Pan-fry

ร่อน Sieve or Sift

โรย Sprinkle

ลวก Scald or Blanch

ละเลง Spread with a circular motion

ล้าง Wash

แล่ Carve

สะเด็ดน้ำ Drain

สับละเอียด Mince

สับหยาบ Chop

เสียบ Skewer

หมัก Fermented

หยด Drop

หยิบมือ Pinch

ห่อ Wrap

หั่น Cut

หั่นแฉลบ Slice diagonally

หั่นเป็นชิ้นบาง Thin Slices

หั่นเป็นท่อน ยาว 1 นิ้ว Cut into 1-inch pieces

หั่นเป็นแว่น Cut into wedges

หั่นเป็นเส้นๆ Cut into fine strips

หั่นฝอย Shred

หุงต้มด้วยความร้อนชื้น Moist heat cooking

อบ Bake

อบด้วยควันเทียนในขวดโหลปิดแน่น Store in tightly closed Jar with

scented candle

คำศัพท์ ภาชนะ อุปกรณ์ในการประกอบอาหาร

กระชอน Sieve,Strain

กล่องเก็บขนมปัง Bread bin

ก๊อกน้ำ Tap

กระทะก้นตื้น Frying pan,Fry-pan,Skillet

กระทะก้นลึก Wok

กาน้ำ Kettle

กาน้ำขนาดใหญ่มีก๊อกเปิด-ปิด Urn

เขียง Cutting board

ครก(หิน)/สาก (Granite)Mortar/Pestle

ครัว Kitchen

เครื่องปิ้งขนมปัง Toasten

เครื่องล้างจาน Dish washer

จาน Plate

จานรองถ้วย Saucer

ช้อน Spoon

ช้อนชา Teaspoon

ช้อนโต๊ะ Tablespoon

ชาม Dish

ซ่อม Folk

ตะกร้า Basket

ตะเกียบ Chopsticks

ตะแกรง Shallow basket

ตะแกรงคว่ำจาน Dis drained

ตะหลิว Tunrer,Fish-slice

ตะหลิวแบน Pan cake turner

ตาชั่ง Scale

ตู้กับข้าว(ติดข้างฝา) Larder

ตู้เย็น Refrigerator

เตาแก๊ส Gas stove

เตาไฟฟ้า Electric stove

เตาอังโล่ Terracotta brazier

ถ้วย Bowl

ถ้วยกาแฟ Coffee cup

ถ้วยชา Tea cup

ถังขยะ Waste bin

โถชา/กาแฟ Tea/Coffee pot

ทัพพี Ladle

ที่เปิดกระป๋อง Can opener

ที่รองหม้อ-จานร้อน Hotplate

ผ้าขี้ริ้วล้างจาน Dish cloth

ผ้าเช็ดมือ , ผ้าเช็ดปาก Napkins

ผ้าปูโต๊ะ Table cloth

ผ้ารองจาน Place mat

พวงเครื่องปรุงรส Cruet,Condiment

พายปาด Spatula

พิมพ์ขนม Mould,Mold

มีด Knife

มีดแกะสลัก Carving Knife

มีดฟันเลื่อย Slicing Knife

ลังถึง Steamer

หม้อ Casserole

หม้อตุ๋น Double boiler

หม้อตุ๋นไฟฟ้า Slow cooker

หม้อมีด้ามจับ Saucepan

หม้อหุงข้าวไฟฟ้า Electric rice cooker

หม้อหยวนโล้ว Chinese self-warming tureen-like pot
เหยือกน้ำ Mug

อ่างล้างชาม Sink